วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

นาฎศิลป์ไทย ๑ ตำนานการฟ้อนรำของอินเดีย


    







   

เทวรูปพระอิศวรปางนาฏราช แสดงท่าเหยียบยักษ์ค่อมชื่อ มุยะละคะ
 ที่มาของภาพ : สุนทรียนาฏศิลป์ไทยอมรา  กล่ำเจริญ 
                         

      
พระภรตฤาษีปฐมาจารย์ทางด้านนาฏศิลป์
   ที่มาของภาพ : อัษฎา   จรัญชล



                        ตำนานการฟ้อนรำของอินเดีย

           ประเทศอินเดียเป็นประเทศหนึ่งที่มีอารยธรรมเก่าแก่ และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่โบราณกาลโดยเฉพาะการละครรุ่งเรืองมากประกอบกับชนชาติอินเดียนับถือ และเชื่อมั่นในศาสนาพระผู้เป็นเจ้าตลอดสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ การละครมาจากการสวดอ้อนวอนพระผู้เป็นเจ้าได้แก่ พระศิวะ (พระอิศวร)พระวิษณุ  (พระนารายณ์ )   และพระพรหม    ฝ่ายพระพุทธศาสนาเป็นพระรัตนตรัย    พระพุทธเจ้า
พระธรรมอันสูงสุด พระสงฆ์
 ในบางยุคของชาวอินเดียถือว่า พระอิศวรผู้เป็นเจ้าที่มีผู้เคารพนับถือมากยุคนี้ถือว่าพระอิศวรทรงเป็นนาฏราช (ราชาแห่งการร่ายรำ) มีประวัติทั้งในสวรรค์และในเมืองมนุษย์ โดยมีเรื่องราวเล่าขานไว้ดังนี้
          ในกาลครั้งหนึ่ง  ที่ป่าตาระกะ เป็นสถานที่อุดมด้วยพืชผลนานาชนิด มีความสงบร่มรื่น    สวยงาม บรรดาฤาษีทั้งชายและหญิงต่างพากันไปตั้งอาศรมบำเพ็ญพรตอยู่กันเป็นจำนวนมาก ต่อมาบรรดาฤาษีเหล่านั้นได้ประพฤติผิดเทวบัญญัติมักมากไปด้วยกามราคะต่างกระทำผิดในทางพรหมจรรย์กันวุ่นวาย
            ร้อนถึงพระอิศวรเมื่อทรงทราบเหตุดังนี้จึงชวนพระนารายณ์ลงไปปราบ พญาอนันตนาคราชซึ่งเป็นบัลลังก์ของพระนารายณ์ก็ขอตามเสด็จไปด้วย ในการเสด็จลงไปปราบเหตุอันวุ่นวายในครั้งนี้พระอิศวรทรงแปลงร่างเป็นดาบสหนุ่มรูปงาม ส่วนพระนารายณ์ทรงแปลงร่างเป็นดาบสสินีสาว มี       สิริโฉมงดงามยิ่งนัก แล้วทั้งสองพระองค์ก็เสด็จมายังบริเวณป่าตาระกะและตรงเข้าไปยังบริเวณอาศรมของฤาษีซึ่งกำลังเพลิดเพลินด้วยโลกีย์อยู่นั้น     บรรดาฤาษีหญิงทั้งปวงแลเห็นดาบสหนุ่มรูปงามเดินเข้ามาต่างก็เกิดอารมณ์รักพากันรุมล้อมพูดจายั่วยวนต่างๆ ส่วนพวกฤาษีชายแลเห็นดาบสสินีสาวสวย ต่างเข้ารุมล้อมเกี้ยวพาราสี จึงทำให้เกิดความหึงหวงกันทั้งสองฝ่าย ถึงกับใส่อารมณ์ทุบตบตีกันชุลมุน วุ่นวาย และประหัตประหารกันเองจนได้รับความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส พระอิศวรและพระนารายณ์ต่างกลายร่างกลับคืนตามเดิมพร้อมทั้งกล่าวสั่งสอนให้รู้สำนึกผิดชอบชั่วดี
            ในขณะนั้นได้มียักษ์ค่อมตนหนึ่ง  ชื่อ มุยะละคะ (หรืออสูรมูลาคนีได้เข้ามาขัดขวางพยายามจะช่วยเหลือเหล่าบรรดาฤาษีพวกนั้น พระอิศวรจึงลงโทษโดยเอาพระบาทเหยียบยักษ์ตนนั้นไว้ แล้วแสดงท่าทางการร่ายรำด้วยความงดงาม อย่างที่ไม่เคยมีปรากฏมาในโลก เสร็จแล้วพระผู้เป็นเจ้าทั้งสองต่างก็เสด็จกลับ
        พญาอนันตนาคราชที่ได้ตามเสด็จมาในคราวนั้น ได้เห็นการร่ายรำของพระอิศวรเกิดความประทับใจชื่นชมใคร่อยากจะเห็นพระอิศวรทรงฟ้อนรำอีก  จึงได้กราบทูลปรึกษาพระนารายณ์ และพระนารายณ์ได้ทรงแนะนำให้พญาอนันตนาคราชไปบำเพ็ญตบะ ถ้าเป็นที่พอพระทัยพระอิศวรก็จะเสด็จมาประทานพรให้ พญาอนันตนาคราชจึงไปนั่งบำเพ็ญตบะที่เขาไกรลาศ ซึ่งเป็นสถานที่ที่        พระอิศวรประทับอยู่   และเพ่งกระแสจิตอย่างแน่วแน่   จนในที่สุดพระอิศวรก็ได้เสด็จลงมา   พญา-อนันตนาคราชจึงกราบทูลความประสงค์แก่พระอิศวร พระองค์จึงได้ประทานพรให้และแสดงท่าทางการร่ายรำต่างๆ   เหมือนครั้งก่อนตามที่พญาอนันตนาคราชทูลขอ   (ซึ่งในปัจจุบันสถานที่นั้นอยู่ที่เมืองจิทัมพรัม แคว้นมัทราษฏร์ ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย ซึ่งต่อมาราว ..1800 ชาวอินเดียได้สร้างเทวสถาน  และได้สลักรูปท่ารำต่างๆ ของพระอิศวรครบ 108 ท่า เรียกว่า "เทวรูปปางนาฏราช"    ไว้   ที่นั้น)                   
        ต่อมาพระอิศวรทรงมีประสงค์ ที่จะให้เหล่าบรรดาเทวดานางฟ้าทั้งหลาย ได้เห็นการร่ายรำของพระองค์ จึงประกาศให้ประชุม   
เทวสภา  เชิญพระพรหม พระนารายณ์ เทวดานางฟ้า ฤาษี           และคนธรรพ์มาประชุมพร้อมกัน  แล้วพระอิศวรก็แสดงการร่ายรำท่ามกลางที่ประชุมเทวสภาด้วยท่าทางอันสง่าสวยงามเป็นที่นิยมยินดีโดยทั่วกัน และในครั้งนั้นพระนารถฤาษีซึ่งอยู่ในที่นั้นได้จดบันทึกสร้างเป็นตำราการฟ้อนรำขึ้น  ต่อมาพระพรหมได้มีเทวบัญชาแก่พระภรตฤาษี ให้สร้างโรงละครและจัดการแสดงละครขึ้น เมื่อพระภรตฤาษีรับเทวบัญชาแล้ว จึงได้ไปขอร้องให้พระวิษณุกรรมเป็นผู้สร้างโรงละครให้ ส่วนพระภรตฤาษีเป็นผู้บัญญัติวิธีการแสดงละครโดยแต่งเป็นโศลกบรรยายท่ารำต่างๆ ของพระอิศวรทั้ง 108 ท่า  ให้รำเบิกโรงด้วยลีลาท่ารำตามโศลกที่ขับเป็นทำนองตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วจับเรื่องใหญ่แสดงเรื่องกวนน้ำอมฤต  ซึ่งตำราการแสดงละครของพระภรตฤาษีนี้มีชื่อว่า นาฏยศาสตร์  บางที่ก็เรียกว่า            
ภรตศาสตร์ ตามชื่อของท่านผู้แต่ง (พระภรตฤาษีผู้รจนานาฏยศาสตร์ คนไทยนับถือเป็นปฐมาจารย์ทางด้านนาฏศิลป์)     



อ้างอิง

http://www.oknation.net/blog/assada999/2009/11/15/entry-3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น