วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ต้นไม้...ดอกไม้...ประจำชาติไทย

ต้นไม้...ดอกไม้...ประจำชาติไทย 

การกำหนด ต้นไม้ และ ดอกไม้ ประจำชาติ 
เริ่มต้นที่กรมป่าไม้ได้ชักชวนให้ประชาชนสนใจต้นราชพฤกษ์หรือคูณมาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2494 
โดยรัฐบาลมีมติให้ถือวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ (arbour day) 
มีการชักชวนให้ปลูกต้นไม้ที่มีประโยชน์ชนิดต่างๆ มากมาย 
ในขณะเดียวกันก็ได้มีการเสนอว่า ต้นราชพฤกษ์ น่าจะถือเป็นต้นไม้ประจำชาติ


             
ในปี พ.ศ.2506ป่าไม้ได้เสนอให้ ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูณ 
ไม้มงคลที่มีประโยชน์และรู้จักกันอย่างแพร่หลายเป็นต้นไม้ประจำชาติ 
สำหรับสัตว์ประจำชาติก็คือ ช้างเผือก 
สัตว์ที่มีคุณค่าเกี่ยวข้องกับประเพณีไทยและประวัติศาสตร์ไทยมายาวนาน 

การเสนอครั้งนั้นไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการ 
ดังนั้นตลอดเวลาที่ผ่านมาสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยจึงมีหลากหลาย 
ตั้งแต่สถานที่สำคัญๆ  สัตว์ ดอกไม้ ที่คนไทยคุ้นเคยและพบเห็นบ่อย 
เช่น พระปรางค์วัดอรุณฯ เรือสุพรรณหงส์ ดอกบัว ดอกมะลิ ดอกพุทธรักษา แมวไทย 
เช่นเดียวกับ ต้นราชพฤกษ์ และ ช้างเผือก ยังคงถูกยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติตลอดมา



            ปี พ.ศ.2530 มีการส่งเสริมให้ปลูกต้นราชพฤกษ์อีกครั้ง 
เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 
โดยมีการส่งเสริมให้ปลูกต้นราชพฤกษ์ทั่วประเทศจำนวน 99,999 ต้น 
ทุกวันนี้จึงมีต้นราชพฤกษ์อยู่มากมายทั่วประเทศไทย
            
ข้อสรุปเรื่องสัญลักษณ์ประจำชาติดูเหมือนจะยังไม่ชัดเจน 
กระทั่งช่วงปี พ.ศ.2544 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ได้นำเรื่องดังกล่าวกลับมาเสนออีกครั้ง 
และมีข้อสรุปเสนอให้มีการกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติ 3 สิ่ง
คือ ดอกไม้ สัตว์และสถาปัตยกรรม 
และการพิจารณาที่ผ่านมาเสนอให้กำหนด



ดอกไม้ประจำชาติคือ ดอกราชพฤกษ์
สัตว์ประจำชาติ คือ ช้างไทย
และสถาปัตยกรรมประจำชาติคือ ศาลาไทย
  
          
เหตุที่เลือก ดอกราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติเพราะมีความเหมาะสมในหลายๆ ด้าน
คือ เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน ทนทาน ปลูกขึ้นได้ดีทั่วทุกภาคของประเทศ 
เป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักแพร่หลาย มีชื่อเรียกหลายชื่อต่างกันในแต่ละภาค 
เช่น ลมแล้ง คูน อ้อดิบ 
ราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลใช้ประโยชน์ในพิธีสำคัญๆ เช่น ลงหลักเมือง 
ลงเสาเอก ทำคฑาจอมพลและยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร 



ในช่วงฤดูร้อนราชพฤกษ์จะออกดอกสะพรั่งทั้งต้น ช่อดอกมีรูปทรงสวยงาม สีเหลืองอร่าม
เป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ 
รวมทั้งเป็นสีเดียวกับวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 



นอกจากนี้ความงามของช่อดอก และความหมายที่ดี
ยังถูกจำลองแบบประดับไว้บนอินทรธนูของข้าราชการพลเรือนอีกด้วย




เอกสารอ้างอิง
•พืชพรรณไม้มงคล ส.พลายน้อย บริษัท รวมสาส์น (1977) จำกัด
•เดลินิวส์วาไรตี้ พงษ์พรรณ บุญเลิศ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2544
•ไม้ต้นประดับดอก ชุดคู่มือคนรักต้นไม้ วชิรพงศ์ หวลบุตตา สำนักพิมพ์บ้านและสวน



อ้างอิง

http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=11465.0;prev_next=next

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น