วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แพทย์


แพทย์นิยามอาชีพ


 ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ทำหน้าที่ วินิจฉัยโรค สั่งยา และให้การรักษาทางอายุรกรรม และศัลยกรรมใน ความผิดปกติในร่างกาย และจิตใจของมนุษย์ ทำการวิจัยปัญหาทางแพทย์ และปฎิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมถึงการตรวจร่างกาย การวินิจฉัยโรค การสั่งยา การผ่าตัด และการรักษาอาการบาดเจ็บ โรค และความผิดปกติต่างๆ อาจทำงานเฉพาะการให้คำแนะนำและรักษาทางยาหรือทางผ่าตัดเกี่ยวกับโรคหรือความผิดปกติเฉพาะอย่าง ตรวจค้นโรคและความผิดปกติต่างๆ ของมนุษย์ เพื่อให้ทราบลักษณะแก่นแท้สมติฐาน อาการแสดงและผลของโรค และความผิดปกตินั้นๆ ช่วยกำหนดวิธีการรักษา ตรวจร่างกายมนุษย์หรือวัตถุจากร่างกายมนุษย์ หรือวัตถุพยานอื่นๆ ที่เกี่ยวกับทางการแพทย์ เพื่อค้นหาและชันสูตรเหตุของความผิดปกติในร่างกาย
ลักษณะของงานที่ทำ
 ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรค สั่งยา ผ่าตัดเล็ก รักษาอาการบาดเจ็บ โรค และอาการผิดปกติต่างๆ ของผู้ป่วย 
ตรวจผู้ป่วยและตรวจหรือสั่งตรวจทางเอ็กซเรย์หรือการทดสอบพิเศษ ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม 
พิจารณาผลการตรวจและผลการทดสอบ ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหรือแพทย์อื่นตามความจำเป็น และวินิจฉัยความผิดปกติ 
สั่งยา ทำการผ่าตัดเล็กหรือการรักษาอย่างอื่น และแนะนำผู้ป่วยในเรื่องการปฏิบัติตนที่จำเป็นสำหรับการทะนุถนอมสุขภาพหรือการกลับคืนสู่สภาพปกติ บริหารยาและยาสลบตามต้องการ 
ทำการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในระยะก่อนคลอด ทำการคลอด และให้การดูแลรักษามารดา และทารก หลังคลอด 
เก็บรักษาบันทึกเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ได้ตรวจโรคที่เป็นและการรักษาที่ได้ให้หรือสั่ง 
อาจผสมยา อาจรับผิดชอบและสั่งงานสำหรับพยาบาลในโรงพยาบาลหรือสถาบันอื่น
สภาพการจ้างงาน
 ผู้ประกอบอาขีพนี้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน ตามวุฒิการศึกษา สำเร็จการศึกษาวิชาการแพทย์ซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการทำงานมีอัตราเงินเดือน ดังนี้ 
    หน่วยงาน                        วุฒิการศึกษา 
                   ปริญญาตรี           ปริญญาโท            ปริญญาเอก 
ราชการ           8,190           9,500 - 10,500       15,000 - 16,000 
รัฐวิสาหกิจ      9,040          15,000 - 12,000      23,000 - 24,500 
เอกชน          10,600          21,000 - 22,000      28,000 - 30,000 

ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจต้องมาทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด อาจจะต้องมีการจัดเวรอยู่ประจำโรงพยาบาล นอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วในภาครัฐวิสาหกิจและเอกชนอาจได้รับผลตอบแทนในรูปอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาแพทย์สามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยรายได้ที่ได้รับขึ้นอยู่กับความสามารถ และความอุตสาหะ
สภาพการทำงาน
 ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล โดยตรวจคนไข้ในที่อยู่ในความรับผิดชอบทุกวันและต้องตรวจคนไข้นอกที่เข้ามารับการรักษา ผู้ที่เป็นแพทย์อาจถูกเรียกตัวได้ทุกเวลาเพื่อทำการรักษาคนไข้ให้ทันท่วงที ผู้ที่เป็นแพทย์ต้องพร้อมเสมอที่จะสละเวลาเพื่อรักษาคนไข้ 
ในสถานที่ทำงานจะต้องพบเห็น คนเจ็บ คนป่วยและคนตาย แพทย์จึงต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง เพราะหากมีจิตใจที่อ่อนไหวต่อสิ่งที่ได้พบเห็นจะมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานได้
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
 1. สำเร็จการศึกษาทางสาขาวิชาแพทย์ศาสตร์ 
2. ขยันสนใจในการศึกษาหาความรู้ทางวิทยาการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี 
3. มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย และจิตใจไม่พิการหรือทุพพลภาพ ปราศจากโรค 
4. สามารถอุทิศตนยอมเสียสละเวลา และความสุขส่วนตัว เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่เดือดร้อนจากการ เจ็บป่วย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้เจ็บป่วย มีความเมตตา และมีความรักในเพื่อนมนุษย์มีความเสียสละที่จะเดินทางไปรักษาพยาบาลผู้คนในชุมชนทั่วประเทศ 
5. มีมารยาทดี สามารถเข้ากับบุคคลอื่นได้ทุกระดับมีความอดทน อดกลั้น และมีความกล้าหาญ 
6. มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพของตน มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ ไม่ใช้ความรู้ทางวิชาการของตนไปหลอกลวงหรือทำลายผู้อื่น 
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : โอกาสในการมีงานทำผู้ที่สำเร็จหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าและสามารถสอบผ่านวิชาต่างๆ ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาคือวิสามัญ 1 คณิตศาสตร์ กข. เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา ภาษาอังกฤษ กข. และความถนัดทางการแพทย์ หรือเคยช่วยปฎิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐครบตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ ประมาณ อย่างน้อย 10 วัน ตลอดจนการสอบสัมภาษณ์และการตรวจร่างกาย เมื่อผ่านการทดสอบจึงมีสิทธิเข้าศึกษาแพทย์โดยมีสถาบันที่เปิดสอนวิชาการแพทย์ระดับปริญญาหลายแห่งในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น ผู้ที่จะเรียนแพทย์จะต้องมีฐานะทางการเงินพอสมควร เพราะค่าใช้จ่ายในการเรียนวิชาแพทย์ค่อนข้างสูงและใช้เวลานานกว่าการเรียนวิชาชีพอื่นๆ รวมทั้งต้องเสียค่าบำรุงการศึกษา ค่าตำราวิชาการแพทย์และ ค่าอุปกรณ์ต่างๆ 
หลักสูตรวิชาการแพทย์ระดับปริญญาตรีตามปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี ในสองปีหลักสูตร การเรียนจะเน้นหนักด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไปที่เป็นพื้นฐานสำคัญ ต่อจากนั้นจึงเรียนต่อวิชาการแพทย์โดยเฉพาะอีก 4 ปี เมื่อสำเร็จได้รับใบอนุญาตประกอบเวชกรรมของแพทยสภา มีสิทธิประกอบอาชีพแพทย์ได้ตามกฎหมาย โดยมีโอกาสเลือกสายงานในอาชีพแพทย์ได้ดังนี้ 
1. เป็นแพทย์ฝ่ายรักษา โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ 
- แพทย์ที่ทำหน้าที่เวชปฏิบัติทั่วไป (General Practitioner) ทำหน้าที่รักษาคนไข้ทั่วไป เช่น เป็นไข้หวัด โรคกระเพาะ ท้องเสีย เป็นต้น 
- แพทย์เฉพาะทาง (Specialist) รักษาคนไข้ที่มีอาการหนักหรือที่ต้องใช้อุปกรณ์วินิจฉัยพิเศษ หรือต้องการแพทย์ที่ชำนาญเฉพาะโรคนั้นทำการรักษา เช่น มีน้ำในสมอง มะเร็ง เนื้องอก เป็นต้น 
2. เป็นแพทย์ฝ่ายวิจัย เป็นนักวิจัยที่ทำงานอยู่ในสถาบันทางการแพทย์ ทำการวิจัยและประดิษฐ์ คิดค้นวิทยาการใหม่ๆ ทางการแพทย์ เพื่อประโยชน์แก่มนุษยชาติ 
เป็นแพทย์ฝ่ายป้องกันโดยต้องออกไป ปฏิบัติการในท้องที่ทุรกันดารเพื่อให้การศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันโรคแก่ประชาชนและหาวิธีป้องกันโรคในชุมชนต่างๆ 
เป็นแพทย์ฝ่ายการสอน หรือ เป็นครูสอน
โอกาสในการมีงานทำ
 อาชีพแพทย์ถือว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติ และเป็นอาชีพที่มีการเสียสละสูง สามารถรับราชการโดยทำงานในโรงพยาบาล สถานพยาบาล สถานีอนามัยหรือหน่วยงานการแพทย์ของกระทรวง ทบวง กรมที่ จัดขึ้นเพื่อบริการประชาชนและเจ้าหน้าที่ หรือทำงานในโรงพยาบาลเอกชนนอกจากนี้ ยังสามารถทำรายได้พิเศษด้วยการเปิดคลีนิคส่วนตัวเพื่อรับรักษาคนไข้นอกเวลาทำงานประจำได้อีก แนวโน้มของตลาดแรงงานสำหรับอาชีพนี้ยังคงมีอยู่ ดังนั้นแพทย์สามารถหางานทำได้ง่าย เนื่องจากประเทศไทยยังขาดแคลนแพทย์อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในต่างจังหวัด และชนบทที่ห่างไกลจากความเจริญในตัวเมือง
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
 ผู้ประกอบอาชีพแพทย์ ที่มีความชำนาญ และประสบการณ์ จะได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง จนถึงระดับผู้บริหาร หากมีความสามารถในการ บริหาร 
หรืออาจประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยเปิดคลีนิครับรักษาคนไข้ทั่วไป นอกเวลาทำงานเป็นรายได้พิเศษ สำหรับผู้ที่มีความชำนาญและมีทีมงานที่มีความสามารถ รวมทั้งมีเงินทุนจำนวนมากก็สามารถ เปิดโรงพยาบาลได้ 
แพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง อาจได้รับการว่าจ้างให้ไปทำงานในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลหลายแห่ง ทำให้ได้รับรายได้มากขึ้น
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
 ศัลยแพทย์ อายุรแพทย์ นักพยาธิวิทยา แพทย์ด้านนิติเวช สูตินารีแพทย์
แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
 แพทยสภาการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)


อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น