วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช




ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ กำกับการแสดงโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล มีความยาว 5 ภาค ซึ่งนับเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่สร้างเป็น 5 ภาคด้วยหากไม่นับบุญชู บ้านผีปอบ และหนังตลกตกใจผีอื่นๆ[ต้องการอ้างอิง] ภาคแรกใช้ชื่อว่า องค์ประกันหงสา เข้าฉายในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2550 ซึ่งตรงกับวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะเหนือพระอุปราชาในยุทธหัตถีและตรงกับวันกองทัพไทย ภาคสองใช้ชื่อว่า ประกาศอิสรภาพ เข้าฉายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ภาคสามใช้ชื่อตอนว่า ยุทธนาวี เข้าฉายเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554 ภาคสี่ใช้ชื่อตอนว่า ศึกนันทบุเรง เข้าฉายเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และภาคห้าใช้ชื่อตอนว่า ยุทธหัตถี มีกำหนดเข้าฉายวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555[1] ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา[2]
ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาคต่อจากภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท โดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ได้วางเป้าหมายเรื่องนี้ไว้ว่าจะต้องทำให้ดีกว่าสุริโยไทในทุกด้าน โดยมีขอบเขตการทำงานใหญ่กว่า, ฉากต่างๆ มีความยิ่งใหญ่อลังการกว่า, นักแสดงหลักและนักแสดงประกอบมีจำนวนมากกว่าและใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ มากกว่า[3]
สำหรับรายได้ของภาพยนตร์เรื่องนี้ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 องค์ประกันหงสา ทำรายได้ที่ 236.60 ล้านบาท และ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 2 ประกาศอิสรภาพ ทำรายได้ที่ 234.55 ล้านบาท[4]

องค์ประกันหงสา

เมื่อปี พุทธศักราช 2106 พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์แห่งกรุงหงสาวดีของพม่า ได้กรีฑาทัพมาตีกรุงอโยธยาศรีรามเทพนคร โดยเดินทัพผ่านทางด่านแม่ละเมา แขวงเมืองตาก ทัพพม่ารามัญซึ่งมีรี้พลเหลือคณานับได้เข้ายึดครองหัวเมืองฝ่ายเหนือของอาณาจักรสยาม อันได้แก่ กำแพงเพชร สุโขทัย และสวรรคโลก จนรุกมาถึงเมืองพระพิษณุโลกสองแคว อันเป็นราชธานีฝ่ายเหนือ ในครั้งนั้น สมเด็จพระมหาธรรมราชา เจ้าผู้ครองเมืองพิษณุโลก ตัดสินพระทัยอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนอง ด้วยทรงน้อยพระทัยที่อโยธยาไม่ส่งทัพมาสนับสนุนและก็เพื่อยุติการสู้รบและการสูญเสีย จึงทรงยอมร่วมกระบวนทัพพม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยา โดยต้องทรงยอมถวายพระองค์ดำหรือพระนเรศวร พระราชโอรสองค์โตต่อพระเจ้าหงสาวดีเพื่อเป็นองค์ประกัน ในเวลานั้นพระนเรศร มีพระชนมายุเพียง 9 ชันษา
เมื่อทัพพม่ายกมาถึงกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระมหากษัตริย์ ผู้ครองกรุงศรีอยุธยาก็ทรงยอมเจรจาหย่าศึกกับพม่า เนื่องด้วยไม่อาจทนเห็นการสูญเสียของสมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎร์ และยอมถวายช้างเผือก 4 เชือก และยังมอบสมเด็จพระราเมศวร พระราชโอรสองค์ใหญ่ ไปเป็นองค์ประกันตามข้อเรียกร้อง และให้เดินทางไปพม่าพร้อมกับพระเจ้าบุเรงนอง
สมเด็จพระนเรศวรทรง เป็นที่รักใคร่ของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ประดุจพระราชบุตรร่วมสายสันตติวงศ์ ด้วยองค์ยุพราชอยุธยาทรงมีพระปรีชาสามารถด้านพิชัยยุทธ ทั้งยังองอาจกล้าหาญ สบพระทัยกษัตริย์พม่าซึ่งก็ทรงเป็นนักการทหาร นิยมผู้มีคุณสมบัติเป็นนักรบเยี่ยงพระองค์ พระเจ้าบุเรงนองทรงมีสายพระเนตรกว้างไกล แลเห็นว่าสืบไปเบื้องหน้าสมเด็จพระนเรศวรจะได้ขึ้นเป็นใหญ่ในอุษาคเน ย์ประเทศ จึงทรงคิดใคร่ปลูกฝังให้สมเด็จพระนเรศวรผูกพระทัยรักแผ่นดินหงสา เพื่อจะได้อาศัยพระองค์เป็นผู้สืบอำนาจอุปถัมภ์ค้ำชูราชอาณาจักรพุกาม ซึ่งพระองค์ทรงสถาปนาขึ้นด้วยความยากลำบาก เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระเจ้าบุเรงนองนั้นหาได้วางพระทัยในพระราชโอรส คือ มังเอิน ( พระเจ้านันทบุเรง) และพระราชนัดดามังสามเกียดนัก ถึงแม้ทั้งสองพระองค์จะทรงเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขโดยตรง ด้วยทรงเล็งเห็นว่าราชนิกุลทั้งสองพระองค์นั้นหาได้เป็นผู้ทรงคุณธรรม อันจะน้อมนำเป็นพื้นฐานให้เติบใหญ่เป็นบูรพกษัตริย์ ปกป้องครองแผ่นดินที่พระองค์ทรงสร้าง และทำนุบำรุงมาด้วยกำลังสติปัญญาและความรักใคร่หวงแหน เหตุทั้งนี้เป็นชนวนให้พระเจ้านันทบุเรงและราชโอรส มังสามเกียดขัดพระทัย ทั้งผูกจิตริษยาสมเด็จพระนเรศวรซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าหงสาวดี บุเรงนองกว่าราชนิกุลข้างพม่าทั้งหลายทั้งสิ้น พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดให้พระมหาเถรคันฉ่อง – พระรามัญผู้มากด้วยวิทยาคุณ และเจนจบ ในตำราพิชัยสงครามเป็นพระอาจารย์ถ่ายทอดศิลปะวิทยาการแก่สมเด็จพระนเรศวร นับแต่เริ่มเข้าประทับในหงสานคร ยังผลให้ยุพราชอยุธยาเชี่ยวชาญการยุทธ กลช้าง กลม้า กลศึก ทั้งข้างอยุธยาและข้างพม่ารามัญหาผู้เสมอเหมือนมิได้ ข้อได้เปรียบตามกล่าวเป็นเสมือนทุนทางปัญญา อันส่งผลให้สมเด็จพระนเรศวรสามารถกอบกู้เอกราช แก้ทางศึกจนมีชัยเหนือพม่ารามัญในภายภาคหน้า
พุทธ ศักราช 2112 ปรากฏข่าวระบือไปถึงหงสาวดีว่า เมืองพิษณุโลกฝ่ายเหนือแลกรุงศรีอยุธยาราชธานีฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรสยาม ครั้งนั้น เกิดขัดแย้งปีนเกลียวกัน เหตุเนื่องมาจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้าแผ่นดินอยุธยาเสด็จออกผนวช แลสถาปนาสมเด็จพระมหินทราธิราช พระราชโอรสองค์รองขึ้นเสวยราชสมบัติสืบแทน สมเด็จพระมหินทราธิราชทรงคลางแคลงพระทัยในความจงรักภักดีของสมเด็จพระมหาธรรมราชา แต่ครั้งสงครามช้างเผือกในปีพุทธศักราช 2106 ขณะที่เจ้าแผ่นดินพิษณุโลกก็หาได้ยำเกรงสมเด็จพระมหินทราธราชเฉกเช่นสมเด็จพระมหา จักรพรรดิ ผู้เป็นพระราชบิดา เมื่อเห็นการใดมิควรก็บังคับบัญชาให้สมเด็จพระมหินทราธิราช ปฏิบัติตามพระประสงค์จนเป็นที่ขุ่นเคืองพระราชหฤทัยกษัตริย์อยุธยาพระองค์ ใหม่ ถึงกับหันไปสมคบกับสมเด็จพระไชยเชษฐาธิ ราช พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง ร่มขาวร่วมกันแต่งกลเข้าตีเมืองพิษณุโลก แต่กระทำการมิสำเร็จ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเห็น เชิงสบโอกาสก็ยกทัพใหญ่เข้าตีกรุงศรีอยุธยาอีกคำรบ ครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรร่วมโดยเสด็จมากับทัพหงสาวดี แต่หาได้ตามพระเจ้าบุเรงนองลงมาล้อมกรุงศรีอยุธยาไม่ ทรงประทับอยู่เพียงเมืองพิษณุโลก มีเพียงสมเด็จพระมหาธรรมราชาโดยเสด็จกษัตริย์หงสาลงมาล้อมกรุง ด้วยตั้งพระทัยจะเกลี้ยกล่อมให้สมเด็จพระมหินทราธราชยอมสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าบุเรง นอง เพราะเล็งเห็นว่าอยุธยายากจะต่อรบเอาชัยทัพพม่ารามัญ ซึ่งมีกำลังไพร่พลเหนือกว่าได้ หากขัดขืนต่อรบจะได้ยากแก่สมณชีพราหมณ์อาณา ประชาราษฎร์ ศึกครั้งนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงลาผนวชมาบัญชาการรบด้วยพระองค์เอง แต่อยู่ได้มินานก็เสด็จสวรรคตเสียระหว่างศึก สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้า จึงได้ครองราชสมบัติสืบต่อ และได้ทำการยุทธรักษาพระนครจนสุดความสามารถ จนล่วงเลยถึงปลายคิมหันตฤดูพุทธศักราช 2112 พระเจ้าบุเรงนองก็หาตีกรุงศรีอยุธยาได้ไม่ จึงได้คิดกลศึกขึ้น โดยได้ส่งตัวพระยาจักรีข้าหลวงเดิมของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ที่ตามเสด็จพระราเมศวรไปหงสาวดี เมื่อคราสงครามช้างเผือก เข้าไปเป็นไส้ศึกในเมือง และได้ลอบเปิดพระตูพระนครให้ข้าศึกเข้าเมือง จึงทำให้กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ในปีพุทธศักราช 2112 มะเส็งศก วันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 11 ค่ำ
ข้าง สมเด็จพระนเรศวรซึ่งประทับอยู่ยั้งยังนครพิษณุโลกแต่ต้นศึก หาได้ทรงเห็นงามหรือคิด ครั่นคร้ามอ่อนน้อมต่อหงสาไม่ ถึงจะทรงรู้ซึ้งว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดามิได้คิดคดเป็นกบฏต่อแผ่น ดิน แต่ก็หาได้เห็นด้วยกับการอ่อนข้อสวามิภักดิ์พม่ารามัญ น้ำพระทัยอันมั่นคง เด็ดเดี่ยวนั้น ถึงแม้จะมิได้แพร่งพรายถึงพระเนตรพระกรรณพระเจ้าบุเรงนอง แต่ก็ประจักษ์อยู่ในหมู่ ข้าราชบริพารใกล้ชิดผู้รักและหวงแหนในเอกราชของแผ่นดิน จึงพากันนิยมในน้ำพระทัย แลพร้อมใจถวายความจงรักภักดีแต่นั้นมา ครั้นเสร็จศึกอยุธยาพุทธศักราช 2112 สมเด็จพระมหาธรรมราชา ทรงถวายพระสุพรรณกัลยา พระพี่นางสมเด็จพระนเรศวร แก่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง แลขอแลกตัวสมเด็จพระนเรศวรมาไว้ช่วยราชการข้างอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรจึงประทับยั้งอยู่ยังเมืองพิษณุโลกสืบต่อมา

ประกาศอิสรภาพ

ครั้นลุปีพุทธศักราช 2114 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ซึ่งพระเจ้าบุเรงนองสถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา สืบต่อจากสมเด็จพระมหินทราธิราช ก็โปรดให้สมเด็จพระนเรศวรเสวยราชย์ครองเมืองพิษณุโลก เป็นใหญ่เหนือหัวเมืองเหนือทั้งปวง
เหตุการณ์ข้างพม่า หลังจากพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองสิ้นพระชนม์ในปีพุทธศักราช 2124 พระเจ้านันทบุเรง ราชบุตรได้ขึ้นเสวยราชสืบต่อ และได้สถาปนามังสามเกียดขึ้นเป็นรัชทายาทครองตำแหน่งมหาอุปราชาแห่งราชอาณาจักรหงสาวดี เมื่อแผ่นดินหงสาวดี อันต้องผลัดมือมาอยู่ในปกครองของ พระเจ้านันทบุเรง สัมพันธไมตรีระหว่างอยุธยาและหงสาวดีก็เริ่มสั่นคลอน ด้วยพระเจ้าหงสาวดี พระองค์ใหม่มิได้วางพระทัยในสมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระนเรศวรเองก็หาได้เคารพยำเกรงในบุญบารมีของพระเจ้าแผ่นดินพม่า เช่นกาลก่อน มิเพียงเท่านั้น สมเด็จพระนเรศวรยังได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถให้เป็นที่ปรากฏครั่นคร้าม ดังคราวนำกำลังทำยุทธนาวีกับพระยาจีนจันตุและศึกเมืองคังเป็นอาทิ พระเจ้านันทบุเรงทรงเกรงว่าสืบไปเบื้องหน้าสมเด็จพระนเรศวรจะเป็นภัยต่อพระราชวงศ์แลแผ่นดินหงสาประเทศ จึงหาเหตุวางกลศึก หมายจะปลงพระชนม์สมเด็จพระนเรศวรเสียที่เมืองแครง แต่พระมหาเถรคันฉ่องพระราชครูลอบนำแผนประทุษร้ายนั้นมาแจ้งให้ศิษย์รักได้รู้ความ สมเด็จพระนเรศวรจึงถือเป็นเหตุประกาศเอกราช ตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดี แลกวาดต้อนครัวมอญที่สวามิภักดิ์ และชาวไทยที่โดนเทครัวมาแต่ครั้งศึกเสียกรุง ข้ามแม่น้ำสะโตงกลับคืนพระนคร ซึ่งเป็นชนวนให้พระเจ้านันทบุเรงเปิดมหายุทธสงครามสั่งทัพเข้ารุกรานราชอาณาจักรอยุธยาสืบแต่นั้นมา

[แก้]ยุทธนาว



อ้างอิง

http://th.wikipedia.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น